กว่างโจว เมืองแห่งอาหารโอชา
 การเผยแพร่:2010-05-05 15:24:55   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI
   เมืองกว่างโจวเป็นเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคใต้ของจีนมาโดยตลอด หลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้รวมจีนเป็นเอกภาพเมื่อปร

เมืองกว่างโจวเป็นเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคใต้ของจีนมาโดยตลอด หลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้รวมจีนเป็นเอกภาพเมื่อประมาณ 2,200 ปีก่อน วัฒนธรรมจากเขตทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกของจีนก็ทยอยเข้ามาสู่เขตนี้ และผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น กลายเป็นวัฒนธรรม "หลิ่งหนัน" ซึ่งแปลว่าวัฒนธรรมภาคใต้จีน รวมถึงวัฒนธรรมอาหารที่มีเอกลักษณ์

เมืองกว่างโจวตั้งอยู่เขตดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำจูเจียง มีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่านบริเวณกว่างโจว เป็นเขตอู่ข้าวอู่น้ำของจีน ที่นี่อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น เหมาะสำหรับการเพาะพันธุ์ของพืชและสิ่งมีชีวิต ซึ่งถิ่นนี้มีผลไม้อย่างหนึ่งที่ขึ้นชื่อคือ ลิ้นจี่

เล่ากันว่า เมื่อสมัยราชวงศ์ถัง กษัตริย์องค์หนึ่งชื่อถังเสียนจงรักนางสนมหยางกุ้ยเฟยมาก มีระยะหนึ่ง หยางกุ้ยเฟยไม่ค่อยสบายใจ หน้ามืดประจำ กษัตริย์ถังเสียนจงจึงพยายามเอาใจเธอ โดยสั่งให้พ่อครัวหลวงพยายามทำกับข้าวที่อร่อยให้เธอกิน แต่ก็ไม่เป็นผล อยู่มาวันหนึ่ง มีขุนนางจากทางภาคใต้เดินทางมาเข้าเฝ้า และถวายลิ้นจี่ชนิดหนึ่งให้ กษัตริย์ถังเสียนจงจึงยกให้หยางกุ้ยเฟยไปทาน คิดไม่ถึงว่า พอหยางกุ้ยเฟยได้ชิมลิ้นจี่เท่านั้นก็ยิ้มออกมาทันทีและชมว่า อร่อยมาก กษัตริย์จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้ทหารขี่ม้าส่งต่อหลิ้นจี่ชนิดนี้เข้าวังทุกวัน ซึ่งเมืองหลวงอยู่ที่ฉางอัน หรือเมืองซีอันในปัจจุบัน ทางตอนเหนือของจีน ห่างจากทางภาคใต้เกือบ 2,000 กิโลเมตร เพื่อรักษาความสดของหลินจี่ จึงต้องขี่ม้าด้วยความเร็วสูงสุด และไม่หยุดพักด้วย ระหว่างทางจึงต้องเตรียมม้าหลายตัวเพื่อสลับกันไม่ให้ม้าเหนื่อยตาย ส่วนลิ้นจี่ชนิดนี้ก็ได้ชื่อว่า "เฟยจื่อเสี้ยว" ซึ่งแปลว่านางสนมยิ้ม

ตั้งแต่สมัยโบราณ อาทิสมัยราชวงศ์ฮั่นและสมัยราชวงศ์เว่ย ชาวบ้านจากเขตภาคเหนือและแผ่นดินชั้นในของจีนทยอยกันย้ายถิ่นมาสู่เขตนี้เป็นจำนวนมาก และนำวิธีการปรุงอาหารมาด้วย หลังจากสงครามยาฝิ่นเมื่อทศวรรษปี 1840 (เป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ชาวฝรั่งเอายาฝิ่นมาขายให้คนจีน แล้วเอาเงินจำนวนมหาศาลกลับประเทศ ประชาชนจีนจึงต่อต้านอย่างรุนแรง ทำให้รัฐบาลราชวงศ์ชิงต้องห้ามการนำเข้ายาฝิ่น แต่เรื่องนี้ถือว่าทำลายผลประโยชน์ของพวกฝรั่ง จึงยกทัพมาตีจีน เพื่อบังคับให้จีนต้องเปิดท่าเรือรับยาฝิ่นอีก) พ่อค้าและบาทหลวงจากตะวันตกทยอยกันเข้ามาในประเทศจีน ทั้งนำเมนูอาหารฝรั่งเข้ามายังเมืองกว่างโจวที่เป็นเมืองท่าสำคัญในสมัยนั้นด้วย ฉะนั้น อาหารท้องถิ่น อาหารเขตชั้นในของจีนและอาหารฝรั่งจึงผสมผสานกันกลายเป็นอาหารชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า "เวี่ยไช่" แปลว่าอาหารกวางตุ้ง เมืองกว่างโจวซึ่งเป็นเมืองเอกก็ได้ชื่อว่า "เมืองแห่งอาหารโอชา"

ขณะนี้ เมืองกว่างโจวมีร้านอาหารและภัตตาคารหลายหมื่นแห่ง มีอาหารทุก ๆ ชนิดรสชาติทั้งของจีนและต่างประเทศ ถ้ามีโอกาสไปชมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 ที่กว่างโจวซึ่งจะจัดขึ้นเดือนพฤศจิกายนศกนี้ หรือไปท่องเที่ยวธรรมดา ขอแนะนำว่า ตอนเช้าน่าจะไปหา "ติ่มซำ" ตามโรงแรม ภัตตาคาร ตามสองข้างถนนรับประทานกัน อุทยานสาธารณะหรือตรอกเล็กซอยน้อย ล้วนมีอาหารเช้าที่อร่อยขาย มีขนมเล็ก ๆ มีโจ๊กใส่เนื้อหมูหรือปลา พร้อมด้วยน้ำชาร้อน ๆ เป็นต้น

ส่วนอาหารมื้อเที่ยงและมื้อค่ำ ก็ขึ้นอยู่กับกระเป๋าว่ามีเงินมากน้อยแค่ไหน ไปเข้าร้านอาหารริมถนนราคาไม่แพงก็ได้ หรือเข้าภัตตาคารหรูก็ตาม แต่รับรองว่ารสชาติอร่อยพอ ๆ กัน ถ้าอยากเปลี่ยนรสชาติ ยังสามารถไปร้านอาหารญี่ปุ่นและอาหารฝรั่งได้ด ตลอด 24 ชั่วโมงไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องปากท้อง

ตามบันทึก เมื่อทศวรรษปี 1956 เมืองกว่างโจวเคยมีจัด "งานแสดงอาหารโอชากว่างโจว" เปิดเมนูของงานพบว่ามีกับข้าว 5,447 ชนิด ในจำนวนนี้มีขนม 815 ชนิด และอาหารพื้นเมืองกว่า 100 ชนิด ทั้งใช้วัสดุเกือบทุกอย่างทำเป็นอาหารมาปรุง ตามที่ชาวจีนทั่วไปจึงมักพูดเล่นกันว่า "ชาวกว่างโจวกินทุกสิ่งที่มีปีกบนท้องฟ้าทั้งหมด ยกเว้นเครื่องบิน กินสิ่งที่มีขาทั้งหมด ยกเว้นเก้าอี้"

อาหารสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องเอ่ยถึงคือซุป ชาวกวางตุ้ง รวมถึงชาวกว่างโจวและชาวซัวเถา ล้วนมีประเพณีการต้มน้ำซุป โดยเอาผักสดหรือยาสมุนไพรบางชนิดรวมกับเนื้อไก่หรือเนื้อหมู ใส่น้ำให้เต็มหม้อ แล้วต้มนานหลายชั่วโมง เสร็จแล้วใส่เกลือและเครื่องปรุง ให้ส่งกลิ่นหอมฉุย ทั้งบำรุงกระเพาะอาหาร และบำรุงร่ายกายด้วย เป็นที่ต้องการในชีวิตประจำวันเกือบทุกวันของชาวบ้านท้องถิ่น

ถ้ากินแบบอิ่มเกินไปและต่อเนื่องกันหลายวัน ก็อาจจะเกิดอาการร้อนในได้ แต่ไม่ต้องห่วง เพราะว่าเมืองนี้มีร้านขายน้ำยาสมุนไพรชื่อ "เหลียงฉา" แปลว่าน้ำยาแก้ร้อนใน ซึ่งเป็นที่ต้องการและได้รับความนิยมจากชาวบ้านเช่นกัน 
 

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น