งานแกะสลักหยกสิ้ว
 การเผยแพร่:2012-03-25 18:32:25   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI

การแกะสลักหยกสิ้วเป็นงานแกะสลักหยกพื้นเมืองที่พัฒนาจากบริเวณอำเภอสิ้วเอี๋ยน มณฑลเหลียวหนิง

ในเขตโบราณสถานหงซานเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ได้มีการขุดค้นพบงานศิลปะการแกะสลักหยกเป็นรูปมังกร สุกร คน และใบหน้าสัตว์ เป็นฝีมือแกะสลักที่เรียกว่า "ซู่หัว" ซึ่งหมายถึงฝีมือการแกะสลักหยกตามรูปแบบสิ่งของที่มีอยู่หรือของใช้ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน จากผลงานค้นพบแสดงให้เห็นว่าการแกะสลักหยกที่อำเภอสิ้วเอี๋ยนมีมาช้านานแล้ว

สมัยปลายราชวงศ์ชิง ที่อำเภอสิ้วเอี๋ยนมีถนนซื้อขายหยกที่มีพ่อค้ากว่า 300 คน โดยร้าน "เจียงเป่าถาง" มีช่างแกะสลักหยกฝีมือยอดเยี่ยมถึง 8 คน และร้านตระกูลหลี่ที่มีนายหลี่ เต๋อฉุนเป็นตัวแทน การแกะสลักหยกในสมัยนั้นมี 5 ประเภท คือ บุคคล นก สัตว์ ดอกไม้ และ "ซู่หัว" โดยเฉพาะการแกะสลักซู่หัวพัฒนาความชำนาญไปถึงฝีมือค่อนข้างสูง ช่วง ค.ศ. 1950-1980 การแกะสลักซู่หัวพัฒนาขึ้นไปอีก โดยมีผลงานเตาเผากำยานที่ชื่อว่า "หวาเซี่ยหลิงกวง" สูง 3.15 เมตร เป็นผลงานตัวแทนการแกะสลักแบบซู่หัวรูปลักษณ์คล้ายแจกันขนาดใหญ่ที่สุดของจีน จนได้รับรางวัลถ้วยทองจากงานประกวดศิลปะร้อยบุปผาแห่งประเทศจีน และได้รับการเชิดชูว่าเป็นสิ่งล้ำค่าระดับชาติ ปัจจุบันเก็บไว้ที่มหาศาลาประชาชน

 

 

 

 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น