สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางเวียดนามประกาศลดอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐของเงินด่องเวียดนามให้ต่ำลง 1% โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐแลกเปลี่ยน 21,673 ด่อง นับเป็นครั้งแรกที่ธนาคารกลางเวียดนามเจตนาปรับลดค่าเงินด่อง ทว่ามาตรการนี้สามารถกระตุ้นการส่งออกและผ่อนคลายแรงกดดันที่เศรษฐกิจชะลอการเติบโตได้หรือไม่
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 มกราคม ธนาคารกลางเวียดนามเคยปรับลดอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงลงมา 1% คือ 1 เหรียญสหรัฐแลกได้ 21,458 ด่อง ตอนนั้น ธนาคารกลางเวียดนามประกาศคำแถลงว่า เพื่อปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและแผนงบประมาณแผ่นดิน มีความรับผิดชอบที่ต้องใช้นโยบายเงินตราที่ยืดหยุ่น ควบคุมสภาพเงินเฟ้อ ประกันเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค ต่อจากนี้เพียง 4 เดือนเอง ธนาคารกลางเวียดนามลดค่าเงินด่องอีกครั้งหนึ่ง เป็นเรื่องธรรมดาที่ก่อให้เกิดความหวั่นกลัวในตลาดค้าเงินตราต่างชาติและในหมู่นักลงทุน ธนาคารกลางเวียดนามอธิบายต่อการนี้ว่า นี่เป็นการต่อเติมนโยบายรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน นักลงทุนไม่ต้องกังวลเกินควร
หลายปีมานี้ เพื่อคลี่คลายแรงกดดันระยะยาวที่เกิดจากสภาพเงินเฟ้อและสภาพการขาดดุลด้านการส่งออก ธนาคารเวียดนามเคยใช้มาตรการปรับลดค่าเงินด่องหลายครั้ง แต่ความเร็วของการลดค่าเงินด่องครั้งที่ผ่านๆ มายังไม่ถึงขั้นพอใจของธนาคารเวียดนาม เพราะเริ่มจากต้นปี 2014 หลายประเทศพัฒนาของยุโรปและญี่ปุ่นปรับค่าเงินตนเองต่ำลงอย่างขนานใหญ่ ส่วนเกาหลีใต้ ไทย อินเดียซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจเจริญใหม่ทยอยกันใช้นโยบายผ่อนคลายเงินตรา ภายในอาเซียน เวียดนามก็เสียเปรียบด้านการส่งออก แหล่งข่าวแจ้งว่า ในปี 2015 อัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐลดลง 1.5% ขณะที่อินโดนีเซียกับมาเลเซียซึ่งเป็นคู่แข่งของเวียดนาม ปรับลดค่าเงินตนเอง 5.3% และ 2.6% ตามลำดับ ทำให้ใบสั่งซื้อจากทวีปยุโรปและญี่ปุ่นที่เวียดนามได้รับลดน้อยลงอย่างชัดเจน
สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนามแถลงข้อมูลล่าสุดเมื่อปลายเดือนเมษายนว่า อัตราการเติบโตของการค้ากับต่างชาติของเวียดนามในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2015 ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ 4 ปีที่ผ่านมา โดยยอดการส่งออกเป็น 50,100 ล้านเหรียญสหรัฐ และยอดการนำเข้าเป็น 53,100 ล้านเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นว่า สภาพการขาดดุลการค้าของเวียดนามในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้สูงถึง 3,000 ล้านหยวน มองในแง่นี้ สาเหตุที่ปรับลดค่าเงินด่องของเวียดนามเป็นครั้งที่ 2 นี้ คือ กระตุ้นการส่งออกเป็นหลัก และรักษาศักยภาพการแข่งขันด้านการส่งออกของเวียดนาม
- เวียดนามปรับลดค่าเงินด่องเพื่อกู้เศรษฐกิจ
- การส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือนมีนาคมขยายตัว
- ไทยใช้มาตรการหลายประการเพื่อส่งเสริมการส่งออก
- นักธุรกิจสิงคโปร์เริ่มหันมาลงทุนในภาคกลางและตะวันตกของจีน
- 2 เดือนแรกปีนี้ยอดการค้านำเข้า-ส่งออกของปักกิ่งกับอาเซียนลดลงร้อยละ 34.1
- เริ่มเปิดบริการชำระค่าการค้าระหว่งประเทศด้วยเงินหยวนที่ไทย
- พม่ารับธนาคารต่างชาติแห่งแรกในรอบกึ่งศตวรรษ
- รัฐบาลมาเลเซียเตรียมออกพันธบัตรวงเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อรับมือกับจำนวนเงินตราต่างประเทศลดลง
- แบงค์ออฟไชน่าเปิดบริการด้วยเงินหยวนที่มาเลเซีย
- มณฑลส่านซีของจีนจัดงานประชาสัมพันธ์การค้าที่สิงคโปร์
วิดีโอยอดนิยม
ช่องแนะนำ
ด้านบน คิดเห็น
- IMF เห็นว่า การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจจีนจะมีผลดีที่ลึกซึ้งยาวไกล [0]
- 萨瓦迪卡:五一玩转泰国 [0]
- วงการต่างๆ ของกัมพูชารอคอยการเยือนของประธานาธิบดีหู จิ่นเทา [0]
- เรือเสวี่ยหลงของจีนฝ่าน้ำแข็งที่หนาได้แล้ว [0]
- เดือนมกราคม CPI ของจีนสูงขึ้น 0.8% [0]
- จีนจะสร้างศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียนที่เมืองหนานหนิงของเขตกว่างซี [0]
- นายกรัฐมนตรีจีนเยือนอินเดียกับหลักไมล์แห่งความสัมพันธ์ [0]
- โฆษกคณะรัฐมนตรีจีนระบุจะพิจารณาปรับปรุงนโยบายการออกวีซ่าไปฮ่องกง [0]
- จีนประสานไทยจัดการเรื่องนักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ [0]
- เทียนจินเปิดเส้นทางบินตรงเวียดนามสายแรก [0]