บทวิเคราะห์ - ยุโรปที่ถูกดักฟังหลายครั้ง จะคืนดีกับสหรัฐอเมริกาได้หรือไม่
 การเผยแพร่:2020-11-27 15:49:26   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานบริหารกิจการงานทั่วไปของสหรัฐฯ(U.S. General Services Administration)ประกาศว่า นายโจ ไบเดน ผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครตได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง วันเดียวกัน นายไบเดนได้โทรศัพท์คุยกับผู้นำของสหภาพยุโรปและนาโต้ เน้นว่าจะกระชับและฟื้นฟูความสัมพันธ์กับฝั่งแอตแลนติก สื่อจึงตั้งข้อกังขาว่า สหรัฐฯ กับยุโรปมีหวังกลับสู่สภาพ “หวานชื่น” จะเป็นไปได้หรือ

สื่อเดนมาร์กได้รายงานว่า ระหว่างปี 2015-2016 เดนมาร์คเคยตัดสินใจจะสั่งซื้อเครื่องบินรบรุ่นใหม่ แต่สำนักงานความปลอดภัยแห่งชาติสหรัฐฯ ใช้ความร่วมมือด้านข่าวกรองพิเศษกับเดนมาร์ก ดำเนินการควบคุมต่อกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศและวิสาหกิจด้านยุทโธปกรณ์ของเดนมาร์ก อีกทั้งยังได้รวบรวมข่าวกรองของวิสาหกิจด้านยุทโธปกรณ์ของยุโรป 2 แห่งที่เข้าร่วมการประมูล  สุดท้าย เครื่องบินรบรุ่น F-35 ที่ผลิตโดยบริษัท Lockheed Martin Corporation ได้ชนะการประมูล นับว่าเป็นการใช้ความสัมพันธ์พิเศษทางด้านข่าวกรองแต่กลับหักหลังพันธมิตร นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีการควบคุมและดักฟังสวีเดน เยอรมนี ฝรั่งเศส นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

ยุโรปที่ถูกสหรัฐฯ หักหลังบ่อยครั้ง แม้จะไม่พูดถึงเรื่องการถูกดักฟัง แต่เมื่อมองจากสภาพการณ์แวดล้อมในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับยุโรปก็คงยากที่จะกลับคืนดังเดิม ส่วนรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ จะสามารถปรับความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายให้ดีขึ้นถึงขนาดไหน ยังต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์และผลประโยชน์ของประเทศตน และการเมืองภายในประเทศด้วย

ที่สำคัญคือ หลายปีที่ผ่านมา ชาวยุโรปตกอยู่ในสภาพลำบากด้วยเหตุที่สหรัฐฯ เริ่มคำนึงถึงตนเองมากขึ้น สื่อมวลชนยุโรปต่างแสดงความผิดหวัง และระมัดระวังสหรัฐฯ นับวันมากขึ้น โดยมีการเรียกร้องให้รักษาความเยือกเย็นในการจัดการปัญหาข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับยุโรปอาจจะดีขึ้นในอนาคต แต่ทั้งสองฝ่ายยังคงมีข้อขัดแย้งมากมายหลายอย่างที่แก้ไขไม่ได้ คงยากที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ข้ามมหาสุทรแอตแลนติกได้ในความเป็นจริง (Yim/Ping/Cai)


ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น