การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ-‘สี จิ้นผิง’เสนอแนวคิดระบบบริหารจัดการโลกของจีน
 การเผยแพร่:2020-12-28 17:54:12   ดูความถี่:0 แหล่ง:CMG

นับตั้งแต่ ค.ศ. 2020 เป็นต้นมา การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นความท้าทายที่รุนแรงยิ่ง ทำให้เห็นจุดอ่อนในระบบบริหารจัดการโลกอย่างชัดเจน ระเบียบระหว่างประเทศและการบริหารจัดการโลกในยุคโควิด-19 ระบาดกำลังเป็นที่จับตามองของประชาคมโลก

“เราต้องยืนหยัดเดินบนหนทางลัทธิพหุภาคี ปกป้องระบบระหว่างประเทศที่มีสหประชาชาติเป็นแกนกลาง การบริหารจัดการโลกควรยึดหลักร่วมปรึกษาหารือ ร่วมสร้างสรรค์ และร่วมแบ่งปัน ผลักดันให้นานาประเทศมีความเสมอภาคเท่าเทียมในด้านสิทธิและผลประโยชน์ โอกาส และกฎระเบียบ ทำให้ระบบบริหารจัดการโลกสอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ตอบสนองความต้องการที่เป็นรูปธรรมในการรับมือความท้าทายทั่วโลก ตลอดจนสอดคล้องกับกระแสประวัติศาสตร์แห่งสันติภาพ การพัฒนา ความร่วมมือ และการได้ชัยชนะร่วมกัน”

\

นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน อรรถาธิบายจุดยืนและข้อเสนอของจีนเพื่อเสนอแนวคิดใหม่ต่อการปฏิรูประบบบริหารจัดการโลกในการอภิปรายทั่วไปของการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 75

การขับเคลื่อนการสร้างประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษย์นั้นถือเป็นแนวคิดการแก้ไขปัญหาเชิงระบบที่จีนเสนอขึ้นเพื่อรับมือความท้าทายทั่วโลก รวมถึงปฏิรูปและปรับปรุงระบบบริหารจัดการโลกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นายปาสกัล ลามี ประธานฟอรั่มสันติภาพปารีส และอดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก ระบุว่า การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษย์ที่จีนเสนอนั้นเป็นแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการโลก มีความเหมาะสมยิ่งสำหรับนำมาใช้แก้ไขปัญหาด่วนหลายประการที่มวลมนุษยชาติกำลังเผชิญในการสามัคคีกันต้านการระบาดของโควิด-19 รวมถึงปัญหาการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19

เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ที่ประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศ ครั้งที่ 18 เสนอให้ส่งเสริมแนวคิด “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษย์” ในการพบปะกับบุคคลต่างประเทศครั้งแรกภายหลังเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน นายสี จิ้นผิง กล่าวว่า ประชาคมโลกนับวันกำลังกลายเป็น “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน” ที่ “ในคุณมีฉัน ในฉันมีคุณ” เมื่อเผชิญสถานการณ์อันสลับซับซ้อนทางเศรษฐกิจและปัญหาเชิงทั่วโลก ประเทศใดก็ตามล้วนมิอาจดำรงอยู่ด้วยดีโดยลำพังได้ “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน” เป็นแนวคิดใหม่เกี่ยวกับสังคมแห่งมนุษยชาติที่รัฐบาลจีนเน้นย้ำอย่างสม่ำเสมอ

ค.ศ. 2020 ปธน.สี จิ้นผิง กล่าวถึงการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันผ่านเวทีพหุภาคีอย่างลงลึกหลายครั้ง ในที่ประชุมครั้งที่ 20 ของคณะมนตรีผู้นำประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ นายสี จิ้นผิง เสนอข้อริเริ่มสำคัญเป็นครั้งแรก ภายในขอบเขตขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ เกี่ยวกับการสร้าง “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันด้านสุขภาพและสาธารณสุข” “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันด้านความมั่นคง” “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันด้านการพัฒนา” และ  “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันด้านวัฒนธรรม”  ในที่ประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 27 ของผู้นำองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค  ปธน.สี จิ้นผิง ได้อรรถาธิบายอย่างเป็นระบบครั้งแรกเกี่ยวกับการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันในพื้นที่เอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง เติบโตด้วยนวัตกรรม ประสานและเชื่อมโยงกัน รวมถึงร่วมมือและได้ชัยชนะร่วมกัน และในพิธีเปิดงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียนและการประชุมสุดยอดการค้าและการลงทุนจีน-อาเซียน ครั้งที่ 17 ปธน.สี จิ้นผิง กล่าวถึงข้อเสนอสำคัญเกี่ยวกับการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันจีน-อาเซียนที่มีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นภายใต้สถานการณ์ใหม่

จีนเป็นผู้ริเริ่มที่แข็งขันและเป็นผู้ขับเคลื่อนอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ในการยืนหยัดลัทธิพหุภาคและปรับปรุงระบบบริหารจัดการโลก จีนกำลังใช้ความพยายามให้ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่จุดสูงสุดภายใน ค.ศ. 2030 และจะให้ลดลงเหลือสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2060 ยิ่งไปกว่านั้น จีนยังได้ตั้งกองทุนทรัสต์เพื่อความร่วมมือใต้-ใต้ระหว่างจีนกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ รุ่นที่ 3 และจะขยายเวลากองทุนเพื่อสันติภาพและการพัฒนาจีน-สหประชาชาติออกไปอีก 5 ปี หลังสิ้นสุดการดำเนินงานใน ค.ศ. 2025

มาตรการต่าง ๆ ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังดังกล่าวของจีนได้รับการชื่นชมในวงกว้างจากประชาคมโลก นายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ระบุว่า จีนเป็นเสาหลักแห่งลัทธิพหุภาคี นับวันยิ่งมีบทบาทมากขึ้นในกิจการระหว่างประเทศและในภูมิภาค

นายเซบาสเตียน พิเนรา ประธานาธิบดีชิลี กล่าวว่า จีนมีอารยธรรมเก่าแก่ยาวนานและวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ที่ยาวไกล เชื่อมั่นว่าจีนจะสร้างคุณูปการมากยิ่งขึ้นต่อการปรับปรุงระบบบริหารจัดการโลกและการรับมือความท้าทายทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น

ด้านนายมาร์ติน ฌาคส์ นักวิชาการชาวอังกฤษ กล่าวว่า “เป็นความจริงที่เรากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งจะส่งผลชี้นำกระบวนการพัฒนาในระยะเวลา 10 ปี กระทั่งหลายสิบปีในอนาคต การรับมือความท้าทายเหล่านี้ด้วยความสำเร็จนั้นเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ต่อการปกครองประเทศที่ต้องการจีนและประเทศอื่น ๆ ร่วมกันดำเนินความร่วมมือครั้งใหญ่”

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ชะตากรรมและอนาคตของโลกเผชิญการเลือกหนทางเดินซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งนั้น จีนยืนอยู่ข้างความถูกต้องของประวัติศาสตร์ ยืนหยัดที่จะเป็นผู้สร้างสันติภาพของโลก ผู้สร้างคุณงามความดีต่อการพัฒนาของโลก ผู้ปกป้องระเบียบระหว่างประเทศอย่างเสมอต้นเสมอปลายมาโดยตลอด ตลอดจนใช้ความพยายามด้วยปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเพื่อร่วมกับนานาประเทศสร้างอนาคตที่ดีงามยิ่งขึ้นของมวลมนุษยชาติ (TIM/LU)


ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น