บทวิเคราะห์ : มองให้เห็นธาตุแท้ “กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก” ของสหรัฐฯ
 การเผยแพร่:2022-05-27 10:52:22   ดูความถี่:0 แหล่ง:CMG

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเยือนประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศเปิดตัว "กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก"  กลายเป็นเหตุการณ์ร้อนแรงที่ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง

นักวิเคราะห์ชี้ว่า กล่าวสำหรับประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้แล้ว การมองให้เห็นธาตุแท้“กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก”ของสหรัฐฯนั้นเป็นสิ่งสำคัญ กรอบฯนี้โอ้อวดว่า "เปิดกว้างและครอบคลุม" แต่กลับพยายามทุกวิถีทางเพื่อกีดกันจีนซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่มีพลังชีวิตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้อยู่นอกกรอบฯดังกล่าว ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ เคยประกาศอย่างเปิดเผยว่า "กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก" เป็น "การจัดวางที่เป็นอิสระจากจีน"  จะเห็นได้ว่าแก่นแท้ของ "กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก" นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ "ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก" ที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งมีลักษณะการเผชิญหน้าและการกีดกันอย่างเข้มข้น สวนทางกับกระแสหลักแห่งความร่วมมือและชัยชนะร่วมกันในภูมิภาคนี้

\

รัฐบาลสหรัฐฯได้เผยแพร่เอกสาร "ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกแห่งสหรัฐฯ" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ สหรัฐฯ อ้างว่าจะส่งเสริม "เสรีภาพและการเปิดกว้าง" ในภูมิภาค แต่แท้จริงแล้วกลับสร้าง "กลุ่มพรรคพวกขนาดเล็ก" แบบปิดและกีดกันผู้อื่น อ้างว่าจะเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค แต่แท้จริงแล้วกลับบ่อนทำลายสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค อ้างว่าจะส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค แต่แท้จริงแล้วกลับยั่วยุให้ประเทศในภูมิภาคนี้เผชิญหน้าและเป็นปรปักษ์ต่อกัน

ความพยายามของสหรัฐฯ ในการสร้างความแตกแยกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น ได้กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อผลลัพธ์แห่งความร่วมมือและแนวโน้มการพัฒนาในอนาคตของภูมิภาค เอเชียเป็นภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นในด้านโลกาภิวัตน์และการค้าเสรี ทุกฝ่ายได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก ได้กำหนดเป้าหมายเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก ได้เริ่มดำเนินการตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP) ซึ่งได้ส่งเสริมการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างทรงพลัง

ทว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯได้กระทำการตามอำเภอใจเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ก่อนอื่นได้ถอนตัวออกจาก “ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)” ที่ริเริ่มโดยสหรัฐฯเอง ตามมาด้วยการดำเนินการฝ่ายเดียวหรือเอกภาคีนิยม(unilateralism) และการกีดกันทางการค้า(Protectionism)อย่างขนานใหญ่ ปัจจุบัน สหรัฐฯ เพิกเฉยต่อกลไกและข้อตกลงทางการค้าที่มีอยู่แล้วในภูมิภาค ยืนกรานที่จะสร้างระบบใหม่ ใน“กระดูก”ของ"กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก"นั้นแฝงไว้ด้วย “ยีน” ของ "อเมริกาต้องมาก่อน"  โดยมีความมุ่งหมายพื้นฐานคือการใช้กรอบฯนี้ เป็นเครื่องมือในการชักจูงและบีบบังคับประเทศต่างๆในภูมิภาคให้เลือกข้าง พฤติกรรมเช่นนี้จะส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาร่วมกันในภูมิภาคนี้ได้อย่างไร? อีกทั้ง "กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก" ยังจะบ่อนทำลายความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ริเริ่มและนำโดยอาเซียนด้วย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำมั่นสัญญาของรัฐบาลโจ ไบเดนที่ว่าจะเคารพความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในกิจการของภูมิภาคนี้

\

อันที่จริง แม้ว่าเกาหลีใต้และญี่ปุ่นได้แสดงว่าจะเข้าร่วม "กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก" แต่มีสื่อญี่ปุ่นได้ชี้ให้เห็นว่า นับถึงปัจจุบันเนื้อหาและวิธีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมของกรอบฯนี้มีความคลุมเครือมาก อีกทั้งยังอาจจะเผชิญความยากลำบากมากมายในอนาคต สหรัฐฯจะจัดการเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ เนื่องด้วยปัญหาความโกลาหลในห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศ แรงงานไม่เพียงพอ อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ประชาชนมีความไม่พอใจมากมาย และอื่นๆ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ปธน.โจ ไบเดนจะเผชิญกับการทดสอบอย่างหนักในเรื่องจะสามารถจัดสรรต้นทุนทางการเมืองที่เพียงพอให้กับกรอบเศรษฐกิจนี้ได้หรือไม่  มีผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นให้มุมมองว่า "กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก" ไม่ใช่ข้อตกลงทางการค้าที่มีเนื้อหาที่จับต้องได้ เช่น การเปิดตลาดและการลดภาษี  จึงมีแรงจูงใจไม่มากนักสำหรับประเทศในภูมิภาคนี้

จีนเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาค ผลประโยชน์ของจีนและประเทศต่างๆในภูมิภาคได้รับการหลอมรวมอย่างลึกซึ้งมาช้านาน เมื่อปี 2021 จีนกับอาเซียนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกันและกัน โดยมีมูลค่าการค้าทวิภาคีสูงถึง 878.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนได้ขยายการเปิดประเทศในระดับสูงอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ และแบ่งปันดอกผลจากการพัฒนาของจีนกับประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งรวมถึงทุกประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย ประเทศในเอเชียแปซิฟิกต่างได้มองเห็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่และบทบาทที่สำคัญของจีน นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์กล่าวว่า ทุกประเทศในเอเชียต่างก็คาดหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และต่างก็มีจุดยืนที่เปิดกว้างต่อโอกาสแห่งการขยายความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ

การเปิดกว้าง ความร่วมมือ การอำนวยผลประโยชน์แก่กัน และชัยชนะร่วมกันนั้นจึงเป็นความคาดหวังร่วมกันของประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การที่สหรัฐฯเล่นพรรคเล่นพวกและสร้าง "กลุ่มพรรคพวกขนาดเล็ก" เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองนั้น ย่อมสวนทางกับความปรารถนาของประชาชนในภูมิภาคนี้ ความพยายามของสหรัฐฯในการเปิด "สโมสร" แบบปิดและกีดกันผู้อื่นผ่าน "กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก" นั้นจึงย่อมยากที่จะสำเร็จได้ตามที่คาดหมายไว้ (YIM/LU)


ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น