เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนนําผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
 การเผยแพร่:2010-05-05 15:11:31   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI
   สวัสดีค่ะ ท่านผู้ฟัง รายการ "จับมืออาเซี่ยน" ครั้งที่แล้ว คุณพิษณุ สุวรรณะชฏ ท่านกงสุลใหญ่ สถานกงสุลไทยปร

สวัสดีค่ะ ท่านผู้ฟัง รายการ "จับมืออาเซี่ยน" ครั้งที่แล้ว คุณพิษณุ สุวรรณะชฏ ท่านกงสุลใหญ่ สถานกงสุลไทยประจำเมืองกวางโจว ได้ให้ความกระจ่างกับเรา เรื่องบริษัทไทยที่เข้ามาทำธุรกิจในจีนจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้างจากการเปิดเขตการค้าเสรี ฯ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับมณฑลกวางตุ้งเป็นอย่างไร มาวันนี้ ก็จะมีความมั่นใจให้กับท่านผู้ฟังในประเด็นที่มีบางท่านวิตกกังวลต่อการเปิดเขตการค้าเสรีจีน-อาเซี่ยนว่า จะมีผลกระทบทางลบและหลังเขตการค้าเสรีจีน-อาเซี่ยนเปิดแล้ว เราจะทำอะไรบ้าง เชิญติดตามหาคำตอบได้จากคุณพิษณุ สุวรรณะชฏค่ะ

คุณพิษณุ สุวรรณะชฏ: เขตการค้าเสรีนี้เป็นเรื่องของการที่จะทําให้การแข่งขันกันในเรื่องการค้ามีกติกาที่ยุตธรรมมากขึ้น เพราะว่าเมื่อมีเขตการค้าเสรีแล้ว ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากเรื่องของกระบวนการด้านภาษีศุลการก็ดี หรือมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรก็ดี โดยหลักการแล้วเรื่องเหล่านี้ก็จะลดลง แต่สิ่งสําคัญอันหนึ่งที่หลายคนเกรงกันว่าสินค้าจีนจะเข้าไปในตลาดอาเซียน และจะทําให้เกิดผลกระทบทางลบกับตลาดในอาเซียน ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน เพราะว่าในกรณีของสินค้าจีนที่จะเข้าไปในตลาดอาเซียน ทางจีนเองก็ต้องเข้าใจว่า สินค้าบางประเภทก็มีเจ้าของตลาดเดิมอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เพราะฉะนั้น การที่สินค้าจีนจะเข้าไปแย่งตลาดได้นี้ เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนจะเป็นตัวช่วยส่วนหนึ่งแถวนั้น แต่ส่วนหนึ่งที่ทางจีนเองก็ต้องทําก็คือเรื่องของการทําให้ราคาสินค้าลดลง คุณภาพสินค้าเพิ่มขึ้น แข่งขันได้ ซึ่งก็จะหมายความว่า คนในอาเซียนเขาจะสามารถมีทางเลือกมากขึ้นที่จะเลือกสินค้าจีนที่มีคุณภาพดและราคาถูกกว่าสินค้าของตลาดอื่นๆ อันนี้ก็เป็นประโยชน์เช่นเดียวกันสําหรับจีนเองในแง่ของการที่จะปรับกระบวนการทํางาน นําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการผลิตสินค้า พัฒนาคุณภาพสินค้า ทําการวิจัยเรื่องพัฒนาต่างๆ มากขึ้น เพื่อให้สินค้าถูกลงโดยอาศัยประโยชน์จากเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน และเพื่อให้สินค้าจีนเป็นที่ต้อนรับของคนในอาเซียนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ในส่วนของสินค้าจากประเทศในอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่ก็อาจจะเป็นสินค้าด้านเกษตรกรรรเป็นหลัก อันนี้ก็มีความจําอยู่เช่นเดียวกันว่า ก็ต้องปรับในแง่ของคุณภาพด้านราคาโดยเช่นเดียวกัน งานวิจัยและพัฒนาในเรื่องของการเกษตรต่างๆ ที่จะทําให้สินค้าเกษตรมีคุณภาพมากขึ้น ในขณะที่ราคาไม่สูงขึ้นด้วย ก็เป็นเรื่องที่จําเป็น ก็จะทําให้โอกาสในการเข้าตลาดจีนเป็นไปได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกัน พี่น้องชาวจีนในเมืองจีนก็จะสามารถบริโภคสินค้าเกษตรที่มีราคาถูกลงแต่คุณภาพดีขึ้นได้ ทั้งหมดแล้วก็จะเป็นเรื่องของการที่ทั้งจีนและ 10 ประเทศในอาเซียนจะต้องพัฒนาในเชิงการผลิตต่อไปอย่างไม่หยุดยัง เพื่อที่จะทําให้โอกาสที่เกิดขึ้นจากเขตการค้าเสรีในอาเซียน เป็นโอกาสที่แท้จริงที่จะทําให้สินค้าของแต่ละฝ่ายกระจายตัว และตลาดในแต่ละฝ่ายสามารถได้รับสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้นแต่ราคาถูกลง สิ่งที่เราในประเทศไทยรวมทั้งผมในฐานะเป็นกงสุลใหญ่นครกวางโจวที่เรากําลังเตรียมการนี้ ก็คือเรื่องของการกําหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เรื่องของการกําหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติที่ชัดเจนว่า เราจะร่วมมือกันอย่างไรที่จะทําให้เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมันไปตามวัตถุประสงค์ บรรลุเป้าหมาย และมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อันนี้เป็นประการแรกที่เราคิด และเราจะพูดคุยหารือกันในส่วนของมณฑลกวางตุ้งที่จะผลักดันเรื่องนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ประเด็นที่สองก็คือว่า ไทยกับจีนเรามีสิ่งที่ปฏิบัติการร่วม ซึ่งเราก็กําหนดเป้าหมายประการหนึ่งว่า ในแง่ของการค้า เราจะทําให้เป้าหมายการค้าของเราบรรลุ 50,000 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ ภายในปี 2553 อันนี้ก็เป็นอีกอันหนึ่งที่เรากําลังพยายามมองว่า เราจะทําอย่างไรให้เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมาตอบสนองเป้าหมายของรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ในเรื่องของมูลค่าการค้า 50,000 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ ให้บรรลุผลในปี 2553 ตามแผนปฏิบัติการที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายตกลงกันไว้แล้วให้ได้ ประการที่สามก็คือว่า เราจะทําอย่างไรในการที่จะทําให้ไทยและจีนได้ประโยชน์จากกิจการอื่นๆ ที่เป็นผลจากการพัฒนาภายในภูมิภาค ซึ่งยังมีส่วนสนับสนุนเรื่องของการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เรื่องเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมต่างๆ ในภูมิภาคเข้ากับจีนตอนใต้ และจะต่อไปถึงทั่วทุกภาคของจีนในอนาคต ซึ่งประเทศไทยอยู่ตรงศูนย์กลางพอดีของการเชื่อมโยงต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่เรากําลังพยายามมองว่า เราจะใช้ประโยชน์จากของเหล่านี้ให้มันเกื้อกูลกับเรื่องของเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนได้อย่างไร อันสุดท้ายที่เรากําลังมองก็คือว่า ในขั้นตอนเริ่มต้นของเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เชื่อว่าก็คงจะมีปัญหาหรืออุปสรรคบ้างในการที่จะผลักดันผลงานให้เกิดเป็นรูปธรรม สิ่งที่เรากําลังมองอยู่ก็คือว่า ทํายังไงเราจะแก้ไขปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ไปมากที่สุด เพื่อผลักดันให้แก่เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องกฎหมาย ระเบียบ ปฏิบัติ ข้อกําหนดต่างๆ ซึ่งมีความจําเป็นที่จะต้องแก้ไขเพื่อให้การแลกเปลี่ยนไปมาหาสู่กันระหว่างคน การแลกเปลี่ยนสินค้า การแลกเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยีเป็นไปด้วยความสะดวกและราบรื่น ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นตัวแปลสําคัญที่สุดที่จะทําให้เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนบรรลุผลและเกิดประโยชน์ ทั้งพี่น้องชาวจีนในประเทศจีนและพี่น้องคนในประชาคมอาเซียนด้วย

ค่ะ ในนามของภาคภาษาไทย สถานีวิทยุซีอารไอ ดิฉันขอขอบคุณท่านกงสุลใหญ่ไทยประจำเมืองกวางเจา คุณพิษณุ สุวรรณะชฎ ที่กรุณามาพูดคุยเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคมนี้ หวังว่าโอกาสหน้า เมื่อเขตการค้าเสรีฯ ดำเนินการไปได้สักระยะหนึ่ง คงจะได้รับความกรุณาจากท่านมาพูดคุยกันอีก สำหรับวันนี้ ขอบคุณมากค่ะ สวัสดีค่ะ
 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น