ฝ่ายต่างๆ เพิ่มเเรงสกดดันเยอรมนี การช่วยกรีกเท่ากับช่วยเงินยูโร
 การเผยแพร่:2010-05-05 14:43:54   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI
   เมื่อวันที่ 28 เมษายน นายโดมินิก สตราวส์ คาห์น ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ นายโรเบิร์ต โชลลิค ผ

เมื่อวันที่ 28 เมษายน นายโดมินิก สตราวส์ คาห์น ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ นายโรเบิร์ต โชลลิค ผู้ว่าการธนาคารโลก นายเอนเจล กูร์เรีย เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจเเละการ พัฒนา นายฮวน โซมาเวีย ประธานองค์การเเรงงานระหว่างประเทศ นาย ฌอง คล็อด ทริเชต์ ผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรปเดินทางไปยังกรุงเบอร์ลิน เพื่อเพิ่มเเรงกดดันต่อรัฐบาลเยอรมนี เเละเรียกร้องให้เอื้อความช่วยเหลือเเก่กรีก ฝ่ายต่างๆ เตือนว่า การช่วยเหลือกรีกเท่ากับช่วยเหลือเงินยูโร เเละอาจพูดได้ว่าเป็นการช่วยเหลือโลก ปัจจุบัน ความน่าเชื่อถือของประเทศใช้เงินยูโรต่ำมาก การช่วยเหลือกรีกเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด
 
เมื่อวันที่ 27 เมษายน ดัชนีจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์หรือเอสแอนด์พี ปรับ อันดับความน่าเชื่อถือของกรีกร่วงไปที่ระดับ "ขยะ" นี่เป็นครั้งเเรกที่องค์การนี้ปรับความน่าเชื่อถือของประเทศที่ใช้เงินยูโรหลังปี 1999 สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ยังระบุว่า ถ้ากรีกปรับโครงสร้างหนี้ ผู้ลงทุนก็จะได้รับทุนคืนเพียง 30 % ขณะเดียวกัน ก็ปรับความน่าเชื่อถือ ของโปรตุเกสลงไปอีกสองระดับ เมื่อวันที่ 28 เมษายน S&P ปรับระดับความน่าเชื่อถือของสเปนจาก A A บวกเป็น A A ตลาดการเงินของยุโรปจึงต้องเผชิญกับปัญหาที่นับวันเลวร้ายยิ่งขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ยุโรปร่วงลงอย่างมาก อัตราการเเลกเปลี่ยนระหว่างเงินยูโร กับดอลลาร์สหรัฐฯ สร้างสถิติต่ำสุดในรอบปีที่ผ่านมา พันธบัตรของกรีกไม่มีใครสนใจอีก ภายใต้สถานการณ์อันล่อเเหลมนี้ เจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศเเละสหภายยุโรปดังกล่าวจึงต้องเดินทางไปยัง เยอรมนี
 
สาเหตุที่เยอรมนีต้องอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนี้คือ รัฐบาลของนางเอนเจล เมอร์เกลยังไม่เห็นด้วยที่จะช่วยเหลือกรีกเหมือนกับประเทศใช้เงินยูโร อื่นๆ สหภาพยุโรปประณามนักเก็งกำไรในตลาดการเงินสากลฉวยโอกาสวิกฤติของกรีกขายชอร์ตเงินยูโร การที่สถาบัน เอสแอนด์พีปรับระดับความน่าเชื่อถือของประเทศดังกล่าวเป็นการได้ทีขี่แพะไล่ บางประเทศในเขตเงินยูโรประณามเยอรมนีมองข้ามผลประโยชน์ส่วนรวมในเขตนี้ เลื่อนเวลาช่วยเหลือกรีกครั้งเเล้วครั้งเล่า เท่ากับช่วยเหลือ นักเก็งกำไร ท่ามกลางเเรงกดดันเเละเสียงประณาม อย่างไม่หยุดยั้ง นา
 
เมอร์เกลเสเเสดงว่า จะเร่งกระบวนการเตรียม ช่วยกรีก เธอกล่าวว่า "ประชาคมโลกจะไม่ให้กรีกพังถล่มเหมือน กลุ่มบริษัท เลห์แมนบราเธอร์ส ถ้าความมั่นคงด้านการเงินของทั่วทั้ง เขตที่ใช้เงินยูโรตกอยู่ในวิกฤติเเล้ว ประเทศสมาชิกต่างๆ ควรต้องเเสดงบทบาทของตน รวมทั้งเยอรมนีด้วย" เเต่เธอยังเเฝงนัยว่า การอนุมัติให้กรีกเข้าเป็นประเทศสมาชิกเงินยูโรอาจเป็นข้อผิดพลาดอย่างหนึ่ง เพราะว่ากรีกจะไม่ปฏิบัติตาม "สนธิสัญญาร่วมว่าด้วยความมั่นคง เเละการเติบโต" เเละเธอยังยืนหยัดว่า การเสนอเงินทุนเเก่กรีกต้องมี เงื่อนไขที่เข้มงวด ซึ่งก็คือ กรีกต้องใช้มาตรการที่มี "ความกล้าหาญ" เเละ "น่าเชื่อถือ" ในการกำหนดนโยบายการเงิน เพื่อประกันให้สหภาพยุโรปบรรลุเป้าหมายการลดตัวเลขเเดง เธอยังกล่าวว่า มีเเต่กรีกยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ดังกล่าว เยอรมนีจึงจะให้ความช่วยเหลือดังกล่าว
 
สื่อมวลชนเห็นว่า หากหลังการประชุมนัดพิเศษของผู้นำประเทศใช้เงินยูโร เเละกรีกได้รับเงินช่วยเหลือเเล้ว วิกฤติด้านหนี้สินของกรีกอาจผ่อนคลายลง ตลาดการเงินของยุโรปอาจมีความมั่นคงในอีกระยะหนึ่ง เเต่ถ้าโปรตุเกส สเปน อิดาลีเเละประเทศอื่นๆ ไม่ใช้มาตรการทางการคลัง ที่เข้มงวด เเละไม่ปฏิบัติตาม "สนธิสัญญาร่วมว่าด้วยความมั่นคงเเละการเติบโต" วิกฤติที่เเท้จริงก็มีอาจจะเกิดขึ้น ทวีปยุโรปที่เพิ่งฟื้นจากวิกฤติการเงินโลกต้องลดตัวเลขเเดงพร้อมกับให้เศษฐกิจฟื้นการเติบโต การนี้จะเป็นการท้าทายต่อสติปัญญาของรัฐบาลประเทศต่างๆ ในเขตดังกล่าว
 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น