บทวิเคราะห์: “เศรษฐกิจดิจิทัล” อีกหนึ่งจุดเด่นความร่วมมือจีน-อาเซียน
 การเผยแพร่:2020-11-16 15:46:52   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI

\

วันที่ 12 พฤศจิกายน  นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนเข้าร่วมการประชุมผู้นำจีน-อาเซียนผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล ณ มหาศาลาประชาชนปักกิ่ง  โดยนายกฯหลี่ เค่อเฉียง กล่าวว่า ทั้งจีนและอาเซียนต้องถือโอกาสปีแห่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจดิจิทัลจีน-อาเซียน เชื่อมต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล  เสริมการสร้างสรรค์โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล   สร้างนวัตกรรมและกระชับความร่วมมือในด้านธุรกิจดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ บิ๊กดาต้า   และเทคโนโลยี 5G  สนับสนุนการวิจัยพัฒนาร่วมกัน การแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  นักวิเคราะห์เห็นว่า   ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียนจะเติมพลังขับเคลื่อนใหม่แก่การพัฒนของทั้งสองฝ่าย    เศรษฐกิจดิจิทัลจึงกำลังกลายเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นในการร่วมมือระหว่างจีน-อาเซียน

\

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย ได้ร่วมไลฟ์สตรีมผ่านแพลตฟอร์มอาลีบาบาของจีนเป็นครั้งแรก เพื่อโปรโมทผลไม้ไทยยอดนิยม โดยได้รับความสนใจและการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าชาวจีน   ในช่วง 15 นาทีแรกก็มีการสั่งซื้อทุเรียน 5,000 ลูก มะพร้าว 20,000 ลูก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ กล่าวกับสื่อมวลชนหลังเข้าร่วมไลฟ์ขายสินค้าครั้งนี้ว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสสนับสนุนเกษตรกรขายผลไม้ไทยคุณภาพดีไปยังผู้บริโภคจีนผ่านทีมอลล์  ประเทศจีนเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย เขาหวังว่าผู้บริโภคจีนจะคอยสนับสนุนผลไม้ไทยในวันนี้และอนาคตข้างหน้า

ปีหลังๆ นี้ ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจีน เช่น อาลีบาบา และจิงตง ได้แสดงบทบาทสำคัญในการนำสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีน   ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้  ไทยส่งออกทุเรียนมูลค่า 788 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโต 30% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้  ทุเรียนที่ส่งออกไปยังตลาดจีนมีมูลค่าสูงถึง 567 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 78% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน

\

ปี 2020 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน  ขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายกำลังพยายามหาทางกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

ด้านดาโต๊ะ ปาดูกา ลิม จ๊อก ฮอย  เลขาธิการอาเซียนกล่าวคาดการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า  ถึง ค.ศ. 2025 เศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนจะมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 13% ในปี 2015 เป็น 85%   ปัจจุบัน จีนอยู่แนวหน้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เป็นหุ้นส่วนที่หาได้ยากของอาเซียนในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคนี้

ขณะนี้  มีหลายโครงการได้ให้การสนับสนุนที่เข้มแข็งแก่ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน โครงการเหล่านี้รวมถึง ท่าข้อมูลสารสนเทศจีน-อาเซียน (China-ASEAN Information Harbor)  และแพลตฟอร์มดิจิทัลเชิงพาณิชย์และการค้าระหว่างจีน-อาเซียน

รายงานสมุดปกขาวว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติจีนที่เผยแพร่โดยสถาบันวิจัยสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีนระบุว่า    เศรษฐกิจดิจิทัลของจีนในปี 2019 มีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 358 ล้านล้านหยวน มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สูงถึง 36.2%

นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงของจีนเสนอระหว่างประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งนี้ว่า ทั้งจีนและอาเซียนต้องเร่งขับเคลื่อนการร่างและประกาศแผนปฏิบัติการว่าด้วยการสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่มุ่งสู่อนาคต และมีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น(ปี 2021-2025)  จีนหวังว่า จะมีการจัดตั้งกลไกการประชุมรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-อาเซียน และจัดการประชุมรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน-อาเซียนครั้งที่ 2 ในปี 2021 เพื่อลงลึกการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรม   ทั้งสองฝ่ายยังต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินโครงการจัดตั้งแพลตฟอร์มดิจิทัลธุรกิจการท่องเที่ยวในอาเซียน  

อนึ่ง ช่วงหลายปีข้างหน้า พร้อมไปกับการพัฒนาของอุตสาหกรรมใหม่ และธุรกิจใหม่    จีนและอาเซียนจะเร่งกระบวนการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล   พร้อมทั้งกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียน  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย  (yim/cai) 


ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น