ผู้เชี่ยวชาญไทยด้านประเด็นระหว่างประเทศชี้ การพัฒนาที่มีคุณภาพสูงที่เสนอโดยจีนนั้นเป็นเป้าหมายร่วมกันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
 การเผยแพร่:2022-06-20 16:52:06   ดูความถี่:0 แหล่ง:CMG

\

ระหว่างวันที่ 15 - 18 มิถุนายน การประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจระหว่างประเทศเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ครั้งที่ 25 จัดขึ้นที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย นายสี จิ้นผิง เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ตามคำเชิญผ่านระบบทางไกลพร้อมกล่าวสุนทรพจน์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญประเด็นระหว่างประเทศของไทยชี้ว่า ข้อริเริ่มที่ประธานาธิบดีจีนประกาศในที่ประชุมเป็นเป้าหมายร่วมกันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื้อหาที่เขาประทับใจเกี่ยวกับสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง คือ การต่อต้านการลงโทษฝ่ายเดียว และการขจัดอุปสรรคทางการค้า เป็นต้น

ดร.ปิติ ศรีแสงนาม กล่าวว่า ท่ามกลางห่วงโซ่มูลค่าระดับทั่วโลก ประเทศต่าง ๆ สามารถเลือกซื้อขายสินค้าโดยดูคุณภาพและต้นทุน ขณะเดียวกันสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการจากพื้นที่ผลิตทั่วโลกจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดทั้งกับตัวผู้ผลิต ผู้ดำเนินธุรกิจ และผู้บริโภค จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและโอกาสการทำงาน ช่วยลดความยากจน ทั้งนี้ ต่างเป็นสิ่งที่ทั่วโลกมุ่งมั่นปรารถนาร่วมกันเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพดีขึ้น ดังนั้น การที่ประเทศจีนออกเสียงต่อต้านลัทธิกีดกันทางการค้าและการขจัดอุปสรรคทางการค้าเป็นประเด็นที่ตัวเขาคิดว่ามีความหมายสำคัญยิ่ง

ดร.ปิติ ชี้ว่า นายสี จิ้นผิง กล่าวเน้นว่า จีนจะยึดมั่นส่งเสริมการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง ร่วมแบ่งปันโอกาสกับทุกประเทศ ร่วมสร้างสรรค์อนาคตร่วมกัน ซึ่งจะนำความผาสุกมาสู่ประชาชนทุกประเทศ เขากล่าวด้วยว่า การพัฒนาที่มีคุณภาพสูงไม่ได้หมายถึงเพียงแต่เฉพาะการผลิตสินค้าและบริการให้ได้ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดเท่านั้น หากยังหมายถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมแบ่งปันผลประโยชน์จากการพัฒนา ขจัดความไม่สมดุลระหว่างความร่ำรวยและความยากจน บรรลุซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเข้าถึงฐานะทางสังคมที่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ถือเป็นความมุ่งมั่นและความปรารถนาร่วมกันของทุกประเทศ

ดร.ปิติ เห็นว่า แนวคิดของจีนมีความหมายสำคัญยิ่งต่อการที่ทั่วโลกร่วมกันรับมือความท้าทายต่าง ๆ เขากล่าวว่า เราได้เห็นว่า ประเทศกำลังพัฒนาหลัก ๆ ซึ่งรวมถึงจีน รัสเซีย และอียิปต์ เป็นต้น ดำเนินการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น บรรลุความเห็นร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อร่วมรับมือวิกฤตที่เกิดจากปัจจัยความไม่แน่นอนต่าง ๆ ซึ่งตัวเขาเห็นว่า แพลตฟอร์มระหว่างประเทศอันสำคัญนี้จะช่วยห่วงโซ่มูลค่าระดับโลกกลับขึ้นมากได้ อำนวยประโยชน์ต่อทุกประเทศ และเขาเองก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อีกไม่นานจะมีประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมฟอรั่มดังกล่าวในนามของกลุ่มอาเซียน (Tim/Zi/Cui)


ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น