อัฟกานิสถานจัดการประชุมสันติภาพเพื่อผลักดันความปรองดองแห่งชาติ
 การเผยแพร่:2010-06-10 18:19:00   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI

การประชุมสันติภาพของอัฟกานิสถานจัดขึ้นที่กรุงคาบูล เมืองหลวงอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา สมาชิกสภาระดับต่างๆ เจ้าหน้าที่รัฐบาลและหัวหน้าเผ่าต่างๆ ของอัฟกานิสถานประมาณ 1,600 คนได้เข้าร่วมการประชุมที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันในครั้งนี้ เพื่อปรึกษาหารือเรื่องความปรองดองแห่งชาติ นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า เนื่องจากกลุ่มตาลีบันได้ออกคำแถลงการคัดค้านการประชุมดังกล่าว และสหรัฐอเมริกาก็มีแผนปฏิบัติการดำเนินการปราบปรามกลุ่มตาลีบันในเมืองคันดาฮาร์ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มตาลีบัน การประชุมครั้งนี้จึงอาจจะส่งผลค่อนข้างจำกัด

นายฮามิด คาร์ไซ ประธานาธิบดีอัฟกานิสถานได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม และกล่าวปราศรัยเกี่ยวกับการยุติสงครามภายในประเทศ รวมทั้งแผนการถอนกำลังทหารของสหรัฐอเมริกา โดยเรียกร้องกลุ่มตาลีบันกับกองกำลังติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐบาลให้วางอาวุธ หยุดเข่นฆ่าประชาชน และร่วมกันผลักดันกระบวนการสันติภาพกับรัฐบาล แต่หลังจากการปราศรัยของนายฮามิด คาร์ไซเริ่มขึ้นเพียงไม่กี่นาที ก็มีลูกจรวดระเบิดขึ้นในบริเวณใกล้ๆ สถานที่จัดประชุม ในขณะเดียวกันมีสมาชิกกลุ่มติดอาวุธหลายคนยิงปืนใส่ห้องประชุม หนึ่งในนั้นโจมตีด้วยระเบิดพลีชีพ หลังจากนั้น กลุ่มตาลีบันได้ออกมาประกาศความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์โจมตีในวันเดียวกัน

ผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้แบ่งเป็น 28 กลุ่ม แต่ละกลุ่มคัดเลือกตัวแทนหนึ่งคนทำหน้าที่เก็บรวบรวมความคิดเห็น ยื่นต่อนายบูร์ฮานูดิน ราบานี อดีตประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน ในฐานะประธานการประชุมโดยก่อนปิดประชุมจะประกาศปฏิณญาร่วมฉบับหนึ่ง นักวิเคราะห์เห็นว่า แม้การประชุมครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในการผลักดันกระบวนการสันติภาพของอัฟกานิสถานก็ตาม แต่เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศอัฟกานิสถานมีความซับซ้อนมาก การประชุมครั้งนี้คงจะจัดพอเป็นพิธีเท่านั้น โดยไม่ส่งผลในทางปฏิบัติ

ประการแรก วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้ก็เพื่อเกลี้ยกล่อมให้สมาชิกตาลีบันหันมาสวามิภักดิ์กับรัฐบาล ในแผนความปรองดองแห่งชาติที่เสนอโดยประธานาธิบดีคาร์ไซระบุว่า สำหรับสมาชิกตาลีบันที่ประสงค์จะตัดขาดความสัมพันธ์กับกลุ่มตาลีบัน รัฐบาลจะให้โอกาสได้รับการอบรมเพื่อหางานทำ นอกจากนี้ นายคาร์ไซยังเรียกร้องสหประชาชาติลบชื่อของผู้นำกลุ่มตาลีบันบางคนออกจากบัญชีรายชื่อดำ เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถได้รับการคุ้มครองจากประเทศมุสลิมบางประเทศ แต่ว่ากลุ่มตาลีบันได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนมาตั้งแต่เนิ่นแล้วว่า จะไม่เข้าร่วมการประชุมแบบนี้จนกว่าทหารต่างชาติจะถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน

ประการที่สอง ถึงแม้สหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกบางประเทศให้การสนับสนุนอัฟกานิสถานในการจัดการประชุมสันติภาพครั้งนี้ แต่ก็ไม่ได้ตั้งความหวังอะไรมากนัก สื่อมวลชนบางกลุ่มวิเคราะห์ว่า สหรัฐอเมริกาไม่ได้หวังให้การประชุมครั้งนี้ัสัมฤทธิ์ผลจนทำให้สถานการณ์ในอัฟกานิสถานมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ เพียงแต่หวังว่าจะสร้างภาพลักษณ์และเกียรติคุณให้กับนายฮามิด คาร์ไซเท่านั้น

 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น