ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจรอบอ่าว เป่ยปู้เข้าสู่ขั้นตอนที่เป็นรูปธรรม
 การเผยแพร่:2010-05-05 14:54:47   ดูความถี่:0 แหล่ง:CRI
   เมื่อเร็ว ๆ นี้ การประชุมสัมมนาเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างเขตรอบ อ่าว เป่ยปู้ได้สิ้นสุดลงท

เมื่อเร็ว ๆ นี้ การประชุมสัมมนาเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างเขตรอบ อ่าว เป่ยปู้ได้สิ้นสุดลงที่เมืองหนานหนิง เมืองเอกของเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสี ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ได้อภิปรายถึงประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งประเด็นเหล่านี้รวมถึงเรื่องเขตการค้าเสรีระหว่างจีน อาเซี่ยนบริเวณรอบอ่าวเป่ยปู้โดยกลไกความร่วมมือในการดำเนินความร่วมมือระหว่างเขตรอบอ่าวเป่ยปู้ การพัฒนาของอุตสาหกรรมกับการค้ำประกันด้านการเงิน อีกทั้งความร่วมมือด้านการคมนาคม ท่าเรือ โลจิสติกส์(logistics) และการท่องเที่ยวระหว่างเขตรอบอ่าวเป่ยปู้ ผู้แทนมีความเห็นโดยทั่วไปว่า ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างเขตรอบอ่าว เป่ยปู้กำลังก้าวจากช่วงของการเตรียมการไปสู่ช่วยที่มีการปฏิบัติการจริง จากนี้ไป ควรขับเคลื่อนให้มีการปฏิบัติตามมาตรการเพื่อความร่วมมือต่าง ๆ
 
เมื่อปี ๒๐๐๒ เขตปกครองตนเองกวางสีของจีนที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอ่าว เป่ยปู้เสนอให้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ที่ประกอบด้วยเขตปกครองตนเองกวางสี มณฑล กวางตุ้ง ไหหลำและบางจังหวัดของเวียดนาม ต่อมา เมื่อปี ๒๐๐๖ เขตปกครองตนเองกวางสีเสนอให้ขยายเขตเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้
 
โดยให้รวมไปถึงประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไน
 
นาย เจี่ยงเจิงหวา รองประธานสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนผู้เคยทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างเขตรอบอ่าวเป่ยปู้ให้สัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ผู้นำจีนและประเทศอาเซียนมีความเห็นเป็นหนึ่งเดียวกันว่า จะสนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างเขตรอบอ่าวเป่ยปู้ ตอนนี้ ความร่วมมือดังกล่าวนี้กำลังย่างก้าวเข้าสู่ช่วงที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ท่านกล่าวว่า ผู้นำของเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนซึ่งเป็นประเทศที่อยู่รอบอ่าวเป่ยปู้หรืออยู่ติดกับประเทศที่อยู่รอบอ่าวเป่ยปู้ต่างแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่า สนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างเขตรอบอ่าวเป่ยปู้ อีกทั้ง ยังมีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับการดำเนินโครงการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมบางโครงการ ตอนนี้ โครงการความร่วมมือหลาย ๆ โครงการเริ่มดำเนินการได้แล้ว
 
นาย หลิวฉีเป่า เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์เขตปกครองตนเองกวางสี ของจีนแสดงความเห็นว่า เมื่อรัฐบาลจีนและรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกอาเซียนเห็นด้วยและให้มีความร่วมมือระหว่างเขตรอบอ่าวเป่ยปู้แล้ว หน้าที่หลักในเวลาต่อมาก็คือ ขับเคลื่อนให้ความร่วมมือดังกล่าวมีความคืบหน้า และจัดทำกลไกในการดำเนินความร่วมมือ เขากล่าวว่า
 
ต้องจัดตั้งคณะอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ขึ้นชุดหนึ่ง นอกจากนั้น ยังต้องกำหนดกรอบและยุทธศาสตร์แห่งความร่วมมือ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญเป็นมาตรการสำคัญเพื่อเริ่มต้น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างเขตรอบอ่าวเป่ยปู้ ถึงเวลานี้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม สำนักเลขาธิการอาเซียนและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซียต่างแสดงท่าทีอย่างเด่นชัดว่า จะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญขึ้นชุดหนึ่ง ประเทศจีนอยากให้ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่รอบอ่าวเป่ยปู้หรืออยู่ติดกับประเทศที่อยู่รอบอ่าวเป่ยปู้ สำนักเลขาธิการอาเซี่ยน และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซียช่วยกันผลักดันเรื่องการจัดตั้ง คณะอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญให้มีความคืบหน้า ส่วนหน้าที่หลักของคณะอนุกรรมการดังกล่าวนี้คือ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเป้าหมายและทิศทางแห่งความร่วมมือ ปริมณฑลสำคัญของการร่วมมือ และโครงการปฏิบัติการเป็นต้น โดยให้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเร็ว เพื่อนำมาพิจารณาอีกครั้ง และนำมาใช้ในการชี้นำกระบวนการของความร่วมมือ
 
นาย เฉิงหยวนเซิง ผู้อำนวยการธนาคารบุกเบิกพัฒนาแห่งชาติจีนที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้แสดงความเห็นว่า เงินทุนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนความร่วมมือในภูมิภาค ให้มีความคืบหน้า ดังนั้น ในเวลาต่อมา จะต้องสร้างช่องทางการลงทุนและรวบรวมเงินทุนขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่เอื้อต่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างเขตรอบอ่าวเป่ยปู้ เขากล่าวว่า
 
ข้าพเจ้ามีความเห็นให้จัดตั้งสหพันธ์ธนาคารซึ่งประกอบด้วย องค์กรการเงินระหว่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภูมิภาคนี้ เพื่อให้การบริการด้านการเงินใน ๓ ด้านแก่การพัฒนาของภูมิภาคนี้ กล่าวคือ ประการแรก ขับเคลื่อนให้ภูมิภาคมีความร่วมมือกับองค์กรการเงินระหว่างประเทศ ประการที่ ๒ เสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้รับประโยชน์ร่วมกัน และ ประการที่ ๓ ให้เน้นดำเนินโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ที่ให้หลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคนี้เข้าร่วม แล้วได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน การจัดตั้งสหพันธ์ธนาคารนั้นจะเป็นมาตรการด้านการเงินที่เห็นผล ประการหนึ่งในการรับมือกับการท้าทายที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์
 

ขอแนะนำให้คุณอ่าน

ช่องแนะนำ

ด้านบน คิดเห็น